วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

PLC คืออะไรพร้อมภาพประกอบ

Programmable Logic Controller เครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถโปรแกรมได้
          PLC : Programmable Logic Controller (มีต้นกำ เนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นเครื่องควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม
ที่สามารถจะโปรแกรมได้ ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนวงจรรีเลย์ อันเนื่องมาจากความต้องการที่อยากจะได้เครื่องควบ คุมที่มีราคาถูกสามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย

        ข้อแตกต่างระหว่าง PLC กับ COMPUTER1. PLC ถูกออกแบบ และสร้างขึ้นเพื่อให้ทนต่อสภาพแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ
2. การโปรแกรมและการใช้งาน PLC ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป PLC มีระบบการตรวจสอบตัวเองตั้งแต่ช่วงติดตั้ง
    จนถึงช่วงการใช้งานทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย
3. PLCถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการตัดสินใจสูงขึ้นเรื่อยๆทำให้การใช้งานสะดวกขณะที่วิธีใช้คอมพิวเตอร์ยุ่งยากและซับซ้อนขึ้น


ประวัติ PLC
ค.ศ.1969
            PLCได้ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกโดย บริษัท Bedford Associates โดยใช้ชื่อว่า Modular Digital Controller(Modicon) ให้กับโรงงานผลิตรถยนต์ในอเมริกาชื่อ General Motors Hydramatic Division บริษัท Allen-Bradley ได้เสนอระบบควบคุมโดยใช้ชื่อว่า PLC
ค.ศ.1970-1979
            ได้มีการพัฒนาให ้PLC มีการประมวลผลที่เร็วมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของ Microprocessor ความสามารถในการสื่อสารข้อมูลระหว่าง PLC กับ PLC โดยระบบแรกคือ Modbus ของ Modicon เริ่มมีการใช้อินพุท/เอาท์พุทที่เป็นสัญญาณ Analog
ค.ศ.1980-1989
            มีความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลของ PLC โดยบริษัท General Motor ได้สร้างโปรโตคอลที่เรียกว่า manufacturing automation protocal (MAP) ขนาดของ PLC ลดลงเรื่อย ๆผลิตซอฟแวร์ที่สามารถโปรแกรม PLC ด้วยภาษา symbolic โดยสามารถโปรแกรมผ่านทาง personal computer แทนที่จะโปรแกรมผ่านทาง handheld หรือ programing terminal
ค.ศ.1990-ปัจัจจุบัน
           ได้มีความพยายามในการที่จะทำให้ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรม PLC มีมาตราฐานเดียวกันโดยใช้มาตรฐาน IEC1131-3 สามารถโปรแกรม PLC ได้ด้วย
                    - IL (Instruction List)
                    - LD (Ladder Diagrams)
                    - FBD (Function Block Diagrams)
                    - SFC (Sequential Function Chart)
                    - ST (Structured Text)
โครงสร้างโดยทั่วไปของ PLC
ลักษณะโครงสร้างภายในของ PLC ซึ่งประกอบด้วย

1.ตัวประมวลผล(CPU)
          ทำหน้าที่คำนวณเเละควบคุม ซึ้งเปรียบเสมือนสมองของ PLC ภายในประกอบด้วยวงจรลอจิกหลายชนิดและมีไมโครโปรเซสเซอร์เบส (Micro Processor Based)ใช้แทนอุปกรณ์จำพวกรีเลย์ เคาน์เตอร์/ไทม์เมอร์ และซีเควนเซอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถออกแบบวงจรโดยใช้ Relay Ladder Diagram ได้ CPU จะยอมรับข้อมูลจากอุปกรณ์อินพุทต่างๆ จากนั้นจะทำการประมวลผลและเก็บข้อมูลโดยใช้โปรแกรมจากหน่วยความจำ หลังจากนั้นจะส่งส่งข้อมูลที่เหมาะสมและถูกต้องออกไปยังอุปกรณ์เอาท์พุท
2.หน่วยความจำ(Memory Unit)
          ทำหน้าที่เก็บรักษาโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการทำงาน โดยขนาดของหน่วยความจำจะถูกแบ่งออกเป็นบิตข้อมูล(Data Bit) ภายในหน่วยความจำ 1 บิต ก็จะมีค่าสภาวะทางลอจิก 0 หรือ 1แตกต่างกันแล้วแต่คำสั่ง ซึ่ง PLC ประกอบด้วยหน่วยความจำสองชนิดคือ ROM และRAM
          RAM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมของผู้ใช้และข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC หน่วยความจำประเภทนี้จะมีแบตเตอรี่เล็กๆ ต่อไว้เพื่อใช้เป็นไฟเลี้ยงข้อมูลเมื่อเกิดไฟดับ การอ่านและการเขียนข้อมูลลงใน RAM ทำได้ง่ายมาก  เพราะฉะนั้นจึ่งเหมากับงานในระยะทดลองเครื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมอยู่บ่อยๆ
          ROM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC ตามโปรแกรมของผู้ใช้ หน่วยความจำแบบ ROM ยังสามารถแบ่งได้เป็น EPROM ซึ่งจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม เหมาะกับงานที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงโปรแกรม นอกจากนี้ยังมีแบบ EEPROM หน่วยความจำประเภทนี้ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม สามารถใช้งานได้เหมือนกับ RAM แต่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่สำรอง แต่ราคาจะแพงกว่าเนื่องจากรวมคุณสมบัติของ ROM และ RAM ไว้ด้วยกัน
3.หน่วยอินพุต-เอาต์พุต (Input-Output Unit)          หน่วยอินพุต ทำหน้าที่รับสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอกแล้วแปลงสัญญาณให้เป็นสัญญาณที่เหมาะสมแล้วส่งให้หน่วยประมวลผลต่อไป


หน่วยเอาต์พุต ทำหน้าที่รับข้อมูลจากตัวประมวลผลแล้วส่งต่อข้อมูลไปควบคุมอุปกรณ์ภายนอกเช่น ควบคุมหลอดไฟ มอเตอร์ และวาล์ว เป็นต้น



4.แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)
          ทำหน้าที่จ่ายพลังงานและรักษาระดับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้กับ CPU Unit หน่วยความจำและหน่วยอินพุท/ เอาท์พุท
5.อุปกรณ์ต่อร่วม (Peripheral Devices)          • PROGRAMMING CONSOLE
          • EPROM WRITER
          • PRINTER
          • GRAPHIC PROGRAMMING
          • CRT MONITOR
          • HANDHELD
          • etc
PLC ทำ งานอย่างไร?









































เรื่อง CNC


ให้นักศึกษาทำการค้นคว้าข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลต่อไปนี้

ให้นักศึกษาทำการค้นคว้าข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลต่อไปนี้

ค้นหาบทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร  พร้อมทั้งให้แสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์บทความดังกล่าว มีข้อดี  ข้อเสีย  หรือผลกระทบต่อนักศึกษาหรือสังคมอย่างไร

คำตอบ

                                    เกร็ดความรู้


ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นเรื่องที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง และยิ่งเทคโนโลยีนั้นถูกนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จนมีผู้คนนับล้านบริโภคเทคโนโลยีดังกล่าว จนทำให้ขนาดของปัญหาใหญ่และสำคัญยิ่งขึ้น
       
ดังเช่น การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือที่เรียกกันติดปากว่า  “โทรศัพท์มือถือ” ซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่เรียกได้ว่าเป็นที่นิยมแพร่หลาย และเข้าถึงได้ง่ายในโลกปัจจุบัน ก็มีประเด็นให้ถกเถียงกันในแง่ปัญหาสุขภาพอยู่ไม่น้อย เนื่องด้วยลักษณะการใช้งานของโทรศัพท์มือถือที่ต้องสัมผัสแนบศีรษะและหู เพื่อให้ได้ยินเสียง และพูดผ่านไมโครโฟนภายในเครื่อง เมื่อสนทนาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ผู้ใช้จะรู้สึกได้ถึงความร้อนที่เกิดขึ้น รวมถึงหลักการของสัญญาณคลื่นไมโคร เวฟที่นำมาใช้กับโทรศัพท์มือถือ ก็ได้ก่อให้เกิดความกังวลเรื่องความร้อนและพลังงานรังสี  จากเครื่องว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่อย่างไร?
       
ด้วยข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนถึงผลกระทบของโทรศัพท์มือถือที่มีต่อสุขภาพ แต่ก็มีการวิจัยที่ค่อนข้างเชื่อถือได้ในประเทศอังกฤษได้บอกไว้ว่า คลื่นไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือมีผลต่อสมอง ทำให้สมองมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคำถามแบบ “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ได้รวดเร็วขึ้น แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของสมองในแง่อื่น ๆ และยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นอันตรายต่อสมอง
       
หากพิจารณาถึงความถี่ของคลื่นไมโครเวฟที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือก็พบว่าเป็นคนละความถี่กันกับที่ใช้ในเตาไมโครเวฟสำหรับประกอบอาหาร รวมถึงกำลังในการส่งสัญญาณของโทรศัพท์มือถือก็ต่ำมาก ความกังวลที่ว่าการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน แล้วจะเป็นเนื้องอกในสมอง ทำให้สมองเสื่อม ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลงนั้น จึงยังไม่ควรวิตกกังวลไป อย่างไรก็ตาม การลดอัตราจากพลังงานความร้อนและรังสีจากโทรศัพท์มือถือ ได้มีการประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อให้ผู้ใช้โทรศัพท์สามารถสนทนาได้โดยไม่ต้องถือโทรศัพท์แนบกับศีรษะหรือ สมอลล์ ทอล์ก ซึ่งก็มีประโยชน์ในการลดอันตรายขณะขับขี่ยานพาหนะ และลดความกังวลเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพได้
        
แต่หากกล่าวถึงการใช้งานโทรศัพท์มือถือในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา เพื่อติดต่อสื่อสารพูดคุยโดยทั่วไป ผู้ใช้จำเป็นต้องมองหน้าจอโทรศัพท์บ้างไม่มากก็น้อย แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีมากมายถูกนำมารวมไว้ในโทรศัพท์มือถือ เพื่อความสะดวกและประโยชน์ใช้สอย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ การถ่ายภาพ การจัดเอกสารข้อมูล รวมไปถึงการดูโทรทัศน์ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมต่าง ๆ เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้งานต้องมองหน้าจอมือถือมากขึ้น จึงเป็นที่น่าสนใจว่าการมองหน้าจอโทรศัพท์มือถือนาน ๆ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพสายตาหรือไม่ อย่างไร? ก่อนจะทราบถึงผลกระทบของการมองหน้าจอโทรศัพท์มือถือ คงต้องอธิบายถึงส่วนประกอบและการทำงานของหน้าจอโทรศัพท์มือถือกันก่อน
       
เริ่มต้นที่ส่วนของหน้าจอ ซึ่งเป็นส่วนแสดงผลของโทรศัพท์ มือถือ หน้าจอที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเป็นชนิด แอลซีดี (ลิควิดคริสตัล ดิสเพลย์) ซึ่งประกอบไปด้วยชั้นบาง ๆ ระดับความหนาเป็นไมครอนมาประกอบกันหลายชั้น คำถามก็คือ..การเกิดภาพให้เห็นบนหน้าจอแสดงผลได้นั้นทำได้อย่างไร สามารถอธิบายได้ต่อไปนี้
       
1. ส่วนให้แสงสว่าง จะอยู่ลึกที่สุด ทำหน้าที่ให้แสงหรือความสว่าง โดยอาจใช้หลอดไฟเป็นแบล็กไลต์ หรือในจอรุ่นใหม่ ๆ แต่ละจุดบนหน้าจอจะปล่อยแสงออกมาได้ด้วยตัวเอง แสงที่เกิดขึ้นนี้จะส่องผ่านรูเล็ก ๆ ขึ้นมานับพันรู ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของหน้าจอ
       
2. ส่วนควบคุมการแสดงผล มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรมากมายที่ประมวลผลการแสดงออกมาว่าจะเป็นรูปอะไร แบบใด เช่น ให้เป็นเลข 9 หรือเป็นตัวอักษร ก.
       
3. ส่วนแสดงผล เป็นส่วนที่เป็นที่มาของชื่อหน้าจอแอลซีดี เพราะในส่วนนี้จะมีลิควิด คริสตัล หรือคริสตัลเหลว เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดภาพ และมีส่วนของคัลเลอร์ ฟิลเตอร์ เป็นตัวกำหนดสี การเกิดภาพโดยคริสตัลเหลว ทำได้โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ไฟฟ้าขึ้น คริสตัลเหลวจะจัดเรียงตัวไปปิดรูที่แสงส่องผ่านตามที่ส่วนควบคุมการแสดงผลกำหนด ทำให้เห็นเป็นภาพขึ้นมา จากนั้นแสงจะผ่านคัลเลอร์ ฟิลเตอร์ กำหนดเป็นสีต่าง ๆ เช่น เห็นอักษร A เป็นแบบตัวเอียงและมีสีน้ำเงิน เป็นต้น
       
จากส่วนประกอบดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า จอโทรศัพท์มือถือที่ให้ความสว่างที่เหมาะสม การประมวลผลรวดเร็ว การทำงานของคริสตัลเหลวมีประสิทธิภาพ และหน้าจอมีความละเอียดมาก ก็จะให้ภาพที่คมชัด และเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เทคโนโลยีเก่ามีราคาถูกลง โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ๆ ที่หน้าจอแสดงผลคมชัด มีสีสันสวยงาม จึงมีราคาไม่แพง และเป็นที่นิยม
       
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าปัจจุบันประโยชน์ใช้สอยของโทรศัพท์มือถือมีมากกว่าการสนทนาระหว่างบุคคล รูปแบบการใช้งานผ่านหน้าจอโทรศัพท์จึงมีมากขึ้น และระยะเวลาในการใช้งานนานขึ้น บางครั้งก็มีอาการหรือความรู้สึกผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการมองเกิดขึ้น จึงเกิดประเด็นสงสัยถึงผลกระทบด้านสุขภาพตาในการมองจอโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ
   
 ปัญหาทางตาที่พบบ่อยได้แก่ การปวดเมื่อยตา สายตาล้า ภาพไม่ชัดเมื่อเปลี่ยนระยะมอง หรือเมื่อเงยหน้าจากจอโทรศัพท์ รู้สึกแสบตา ตาแห้ง ตาพร่า ไปจนถึงการกลัวว่ามองหน้าจอโทรศัพท์นาน ๆ แล้วจอประสาทตาจะเสื่อม เป็นต้อกระจก ต้อหิน ทั้งหมดนี้สามารถอธิบายโดยแยกเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ดังนี้
       
1.อันตรายต่อดวงตาในแง่ความร้อนและรังสีจากโทรศัพท์มือถือขณะกำลังใช้งานหน้าจอ อาจกล่าวได้ว่ามีอันตรายน้อยมาก เนื่องจากขณะใช้งาน เราถือโทรศัพท์ไว้ที่ระยะการมองชัด (ระยะอ่านหนังสือ) โดยอยู่ห่างจากศีรษะและดวงตาประมาณ 30 เซนติเมตร ซึ่งห่างมากพอที่พลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นและพลังงานจากรังสีในย่านความถี่ไมโครเวฟที่มีกำลังส่งต่ำอยู่แล้ว จะส่งกระทบต่อตาน้อยมาก และจากข้อมูลในปัจจุบัน ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการใช้งานโทรศัพท์มือถือมีผลทำให้เกิดโรคทางตาที่มีผลต่อการสูญเสียการมองเห็น ประมวลจากองค์ความรู้ในขณะนี้ ไม่พบหลักฐานว่าการมองหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ทำให้เกิดจอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก และต้อหิน
       
2.อาการต่าง ๆ ที่พบได้แก่ ปวดล้า ตาพร่า ปรับระยะภาพไม่ชัด แสบตา ตาแห้ง อาการต่าง ๆ เหล่านี้เป็นผลจากการใช้สายตาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับการใช้สายตาทั่วไป ไม่เฉพาะกับการมองจอโทรศัพท์มือถือเท่านั้น อาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น อายุของผู้ใช้ การเพ่งมอง ระดับการมองเห็นของแต่ละคน ความผิดปกติของค่าสายตาที่มีอยู่เดิม ความสว่างของหน้าจอ ขนาดของหน้าจอ ระยะเวลาหรือความถี่ในการใช้งานผ่านหน้าจอโทรศัพท์ เป็นต้น

ข้อดี-ข้อเสียของโทรศัพท์มือถือ
ข้อเสีย
1.ทำให้เสียอารมณ์ หากโทรศัพท์มือถือดังในช่วงที่คุณต้องการความสงบ มีสมาธิ  หรือเวลาอะไรก็ตามที่คุณมีความสุข
2.ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน ว่าได้ยินเสียงโทรเข้ามา
3.ทำให้เกิดอาชญากรรมอันถึงแก่ชีวิตได้ หากโทรศัพท์ของคุณสะดุดเข้าตาโจร
4.ทำให้อารมณ์ร้อนของคุณ มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะคุณจะใช้การโทรศัพท์ในการเติมเชื้อไฟ มากว่าจะอยู่กับตัวเองทบทวนปัญหา
5.ทำให้คุณโกหกมากยิ่งขึ้น  เช่น หากแฟนถามว่าอยู่ใหน คงไม่มีใครตอบตรงๆว่าอยู่กับกิ๊ก
6.ทำให้สมองของคุณ ฟ่อลง คุณจะพึงพาความจำของเครื่องโทรศัพท์แทน เช่น เบอร์โทรต่างๆ
7.ทำให้สังคมของคุณ แคบลง เพราะเมื่อคุณหลงทาง คุณคงโทรหาเพื่อน มากกว่าที่จะถาม คนข้างๆที่ไม่รู้จัก
8.ทำให้เป็นภาระทางใจ  เช่นกลัวว่าจะหาย  กลัวจะลืมไว้บ้าน  กลัวพัง กลัวหล่น กลัวตกรุ่น กลัว.........
9.ทำให้เป็นภาระทางการเงิน ต้องหาเงินมาจ่ายค่าโทร
10.ทำให้คุณสูญเสีย อวัยวะได้ หากใช้แบตฯปลอม
อืม ยังมีอีกเยอะ  ให้ท่านอื่นได้ตอบบ้าง

ข้อดี
1.ใช้สื่อสารทางไกลสื่อสารรวดเร็ว (ดีที่สุดล่ะ)
2.เดี๋ยวนี้มือถือทำได้เกือบทุกอย่างสื่อสาร ส่งข่าวสาร ถ่ายรูป ท่องเน็ต อีกเยอะ
3.เอาไว้ฟังเพลง
4.ใช้เป็นนาฬิกาปลุกกะเครื่องคิดเลข
5.โทรศัพมือถือมีประโยชน์สารพัดอย่างสะดวกสบายเยอะแยะไปหมด

รายชื่อเพื่อนในห้อง

1.  นายสาธิต  จันทขวัญ
2. นายวรวุฒิ  อักษรนำ
3. นายวุฑฒิชัย คำแก้ว
4. นายวิทวัส ประยุณสัมพัน
5. นายสมชาย แก่นแก้ว



ประวัติส่วนตัว




ชื่อ  นายอัสรัฐ  ลาเต๊ะนือริง  
ชื่อเล่น  อัฐ
เกิด  6  กันยายน  2528
งานอดิเรก  ปั่นจักรยาน
กำลังศึกษา  ปริญญาตรี  ม.ราชภัฏสงขลา  คณะเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
โทร. 081-2771131